ความหมายของระบบ
ระบบ หมายถึงการรวบรวมส่วนประกอบที่มีความสัมพันธ์กันภายใน(Interrelation) และมีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งส่วนประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้(Banathy,1968)
ระบบ หมายถึงการรวมถึงการรวมกลุ่มของส่วนประกอบต่างๆที่มีการปฏิสัมพันธ์กันขึ้นบางอย่างทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้(Wong,1971)
ระบบ หมายถึงผลรวมขององค์ประกอบย่อยๆที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และมาประกอบรวมกันเป็นระบบเพื่อทำหน้าที่บางอย่าง เช่น ร่างกายมนุษย์ สังคมมนุษย์ พืชและรถยนต์ เป็นต้น(Robbins,1983)
ระบบ หมายถึงผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกัน แต่มีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้(ชัยยงค์ พรหมวงศ์,2523)
ระบบ หมายถึงส่วนรวมทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรือส่วนต่างๆที่มีความสัมพันธ์กัน อาจจะเกิดโดยธรรมชาติ เช่น ร่างกายมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยระบบการหายใจ การย่อยออาหาร เป็นต้น โดยแต่ละระบบต่างทำงานของตนแล้วมามีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีระเบียบ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมารวมกัน เพื่อให้การดำเนินการสามารถบรรลุไปได้ตามจุดหมายที่วางไว้ (กิดานันท์ มะลิทอง,2543)
ระบบ หมายถึงลักษณะเป็นกลุ่ม(Set)ที่ทีองค์ประกอบ(Component)หลายๆส่วน โดยแต่ละองค์ประกอบจะทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์(Purpose)เดียวกัน(โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์,2545)
ระบบ หมายถึงชุดองค์ประกอบที่สัมพันธ์กัน และก่อให้เกิดผลลัพธ์โดยเฉพาะออกมา(กิตติมา เจริญหิรัญ,2546)
ระบบ หมายถึงสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้(วิชุดา ไชยศิวามงคล,2547)
ระบบ หมายถึงสิ่งต่างๆที่มีการติดต่อสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดย่างหนึ่งร่วมกัน(รัชนี กัลยาวินัย,2548)
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า มีผู้ให้ความหมายของระบบไว้คล้ายคลึงกันในหลายด้าน ทำให้ผู้เขียนพอจะสรุปได้ว่า ระบบคือสิ่งที่ประกอบด้วยองค์ประกอบหน่วยหลายๆหน่วยที่มีความสัมพันธ์กัน และทำหน้าที่ประสานกัน อีกทั้งร่วมกันทำงานอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีเป้าหมายในการแปรสภาพทรัพยากรที่นำเข้ามา(Input)ให้ได้ผลลัพธ์(Output)หรือผลผลิต เพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยภายในระบบแต่ละระบบสามารถมองเป็นระบบย่อยได้ ซึ่งระบบย่อยเหล่านี้ถือว่าเป็นระบบด้วยเช่นกันเพราะมีองค์ประกอบต่างๆของระบบที่สมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อระบบย่อยหลายๆระบบรวมกันทำให้เกิดระบบใหญ่ขึ้น ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าระบบใดๆก็ตาม ย่อมเป็นระบบย่อยของระบบที่ใหญ่กว่าเสมอ
นอกจากการศึกษาความหมายของคำว่าระบบแล้วนั้นการศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจและรู้ถึงลักษณะของระบบ จะทำให้เข้าใจในความหมายของคำว่าระบบที่จะต้องทำการวิเคราะห์มากยิ่งขึ้นซึ่งLucas(1992)ได้รวมความคิดเกี่ยวกับระบบแล้วสรุปไว้ว่าสิ่งที่เรียกว่าระบบนั้นมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. องค์ประกอบของระบบทุกองค์ประกอบจะมีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยกัน การศึกษาระบบใหญ่ใดๆก็คือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของระบบนั้น
2.การมองระบบต้องมองโดยรวมทั้งหมด ไม่สามารถจะตัดหรือมองข้ามองค์ประกอบใดๆในระบบนั้นได้ แม้องค์ประกอบนั้นจะเป็นระบบย่อยของระบบย่อยก็ตาม
3.ระบบทุกระบบต้องมีเป้าหมายที่แน่นอน องค์ประกอบภายในระบบแม้จะมีภาระหน้าที่ต่างกัน แต่ต้องมีเป้าหมายเพื่อบรรลุผลตามเป้าหมายของระบบใหญ่
5.ระบบทุกระบบต้องมีขั้นตอน เพื่อจัดกระทำปัจจัยนำเข้าให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายของระบบ
6.ระบบทุกระบบต้องมีขอบเขตแน่นอน สิ่งที่อยู่นอกขอบเขตของระบบจะถูกเรียกว่า สิ่งแวดล้อม(Environment)
7.ระบบทุกระบบต้องมีแผน(Planning),มีการควบคุม(Control)และการให้ข้อมูลย้อนกลับ(Feedback)
8.ระบบทุกระบบย่อยมีโครงสร้าง และสามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยได้หลายระดับ(Hierarchy)
9.ระบบย่อยในระบบใดๆแม้มีความัมพันธ์กัน แต่ย่อมมีข้อแตกต่างกันในภารกิจ และสามารถเขียนหรืออธิบายความสัมพันธ์และภารกิจได้อย่างชัดเจน
10.การดำเนินการภายในของระบบใด สามารถกระทำได้หลายทาง โดยบรรลุวัตถุประสงค์สุดท้ายของระบบเหมือนกัน(Equifinality)
จะเห็นได้ว่าจากการศึกษาลักษณะของระบบและการมองภาพในเชิงระบบ จะช่วยให้เราสามารถแยกสิ่งที่เราสนใจออกจากสิ่งอื่นๆหรือสภาพแวดล้อมได้ ซึ่งช่วยให้เราสามารถศึกษา วิเคราะห์ ทำความเข้าใจ และใช้ประโยชน์จากความรู้ที่มีจากระบบที่เราสนใจได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ทำให้การศึกษาวิชาต่างๆนั้นนำการคิดเชิงระบบมาประยุกต์ (System Engineering)ในการศึกษาทำคามเข้าใจ และแก้ปัญหาต่างๆอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพอีกด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น